TEXT_SIZE
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

ประวัติหมู่ที่ 1 บ้านพะเนิน

     ในอดีตดั้งเดิม หมู่บ้านแห่งนี้ มีพื้นที่เป็นเนินเขา สภาพเป็นป่าแสม ชาวบ้านต่างพากันมา ตั้งรกรากปลูกบ้านพักอาศัย โดยได้ช่วยกันพัฒนาพื้นที่ป่าแสมให้เป็นหมู่บ้าน และใช้ชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพะเนิน" ในหมู่บ้านพะเนินนั้นมีคลองพะเนิน เป็นเส้นทางสายหลักของชุมชนชาวพะเนิน ในด้านการค้าขาย เพราะจะมีเราสำเภาจากต่างถิ่น เข้ามาค้าขายกับชาวหมู่บ้านพะเนินเป็นคลองที่กว้างพอที่ จะสามารถรองรับเรือสำเภาลำใหญ่ได้ แต่ถึงปัจจุบันได้แคบลงมากเพราะชาวบ้านได้รุกล้ำเข้ามา
        บ้านพะเนินตั้งอยู่ในตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ 20  กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 885 ไร่ เป็นพื้นที่ทำนาเกลือ  ประมาณ 300 ไร่  มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านร่องใหญ่ หมู่ที่ 7 ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม
ทิศใต้ ติดต่อกับ คลองอีแอด  หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3 ตำบลแหลมผักเบี้ย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเลอ่าวไทย  
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาพันสาม อำเภอเมืองเพชรบุรี
 
บริการสาธารณสุขในหมู่บ้าน

        สถานที่บริการในหมู่บ้านประกอบด้วย
            1. ศาลากลางบ้าน มีอยู่ 2 ศาลา ฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก
            2. สถานีอนามัย
            3. หอกระจายข่าว
            4. ที่อ่านหนังสือพิมพ์  ประจำหมู่บ้าน

 
ลักษณะภูมิประเทศ

        บ้านพะเนิน มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แต่เป็นน้ำกร่อย เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพ ทำนาเกลือ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะในหมู่บ้านมีคลองน้ำที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำคลองอีแอด ซึ่งประชากรได้ใช้คลองแห่งนี้ ในการประกอบอาชีพประมง

 
สภาพทางเศรษฐกิจ

        ชาวบ้านพะเนิน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง เป็นส่วนใหญ่ รองลงมาประกอบอาชีพทำนาเกลือ   บ่อเลี้ยงอาร์ทีเมีย ( ไรทะเลใช้ เป็นอาหารกุ้ง ) รับจ้างทั่วไป และค้าขาย
          ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมงมี 107 ครัวเรือน มีรายได้ประมาณ ครัวเรือนละ 25,500 บาท
          ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทำนาเกลือมี 10 ครัวเรือน มีรายได้ประมาณ ครัวเรือนละ 25,000 บาท
          ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพรับจ้างมี 47 ครัวเรือน มีรายได้ประมาณ ครัวเรือนละ 20,100 บาท
          ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพค้าขายมี 7 ครัวเรือน มีรายได้ ประมาณ ครัวเรือนละ 23,500 บาท

 
สภาพทางสังคม

        สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านพะเนิน  มีความมั่นคงถาวร  มีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบ ถูกสุขลักษณะ ครอบครัวมีความอบอุ่น มีความปลอดภัยในทรัพย์สิน ประชาชนส่วนใหญ่  มีสุขภาพดี ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปมีการตรวจสุขภาพประจำปี หญิงตั้งครรภ์ และเด็กแรกเกิด ได้รับการดูแล รับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคต่างๆ เด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาจบภาคบังคับทุกคน ประชาชนอายุ 15-59  ปี อ่านออก เขียนได้ หมู่บ้านพะเนินเป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรม  แผ่นดินทอง  ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ติดบุหรี่ และสุรา มีการปฏิบัติกิจทางศาสนา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผู้สูงอายุและคนพิการได้รับการดูแล ประชากรในหมู่บ้าน พะเนินส่วนใหญ่ ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

 

แหล่งทุนของหมู่บ้าน

        กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง  จำนวน 1 กองทุน
 
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้าน

        การทำอวน เนื่องจากประชากรชาวบ้านพะเนินส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพประมง จึงมีการทำอวนใช้เองในหมู่บ้าน และถ้าทำเหลือมากก็จะจำหน่ายให้กับหมู่บ้านใกล้เคียง

ศิลปวัฒนธรรม / ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน

        วัฒนธรรมของชาวบ้านพะเนิน  ไม่มีอะไรที่แตกต่างจากหมู่บ้านอื่น ๆ    มีการนับถือบรรพบุรุษ หรือผู้อาวุโส สืบต่อกันมา ค่านิยมค่อนข้างไปทางสมัยใหม่  หรือตามยุคตามสมัย

 
สถานศึกษา

        หมู่บ้านพะเนินมีสถานศึกษาในระดับอนุบาล และ ระดับประถมศึกษา คือโรงเรียนวัดสมุทรโคดม หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรงเรียนวัดพะเนิน

 
ศาสนา

        ชาวบ้านพะเนิน นับถือศาสนาพุทธ 100 % มีศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ นับถือบรรพบุรุษ และผู้อาวุโส สืบทอดประเพณีตามวันสำคัญทางพุทธศาสนา และ วันสำคัญอื่น ๆ  ส่วนใหญ่ชาวบ้านพะเนิน จะไปทำบุญและปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ที่วัดสมุทรโคดม ตั้งอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้าน

 
ประเพณี สำคัญ และเทศกาลประจำปี

        ชาวบ้านพะเนิน มีประเพณีและเทศกาลสำคัญที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี
            1. ประเพณีทำบุญศาลเจ้าในหมู่บ้าน
            2. ประเพณีวันสงกรานต์  ชาวบ้านพะเนินจะไปร่วมประเพณีวันสงกรานต์ที่จัดขึ้นระดับตำบลทุกปี โดยตำบลแหลมผักเบี้ย  จะจัดในระหว่างวันที่ 12- 13 เมษายนของทุกปี เพราะประเพณีวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน ถือกันว่า ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทย และเป็นวันที่พบญาติพี่น้อง ที่ไปสร้างครอบครัวที่อื่น ลูกหลานที่จากบ้านไปศึกษาเล่าเรียน หรือ ไปทำงานต่างถิ่น ก็จะกลับบ้าน เพื่อมารดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติผู้ใหญ่ ได้มีการทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว   ส่วนใหญ่จะจัด ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล

 
การคมนาคม

        เส้นทางการเดินทางไปยังหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง และถนนคอนกรีต การเดินทางสะดวกสบาย ประชากรในพื้นที่จะใช้รถประจำทาง และรถส่วนตัว

หน่วยงานภาครัฐ 

                   

ลิขสิทธิ์ © 2557 - 2565 องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.

องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โทร 032-441-209

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล